รู้จักหัวชาร์จรถไฟฟ้าได้ง่ายๆ เพียงคุณอ่านบทความนี้ไม่เกิน 10 นาที

ทุกคนคงรู้จักรถยนต์ไฟฟ้า หรือ ยานพหนะขับเคลื่อนระบบไฟฟ้า ในยุค ปี 2019 นี้ “EV-Electric Vehicle” หรือยานยนต์ไฟฟ้า ได้เริ่มเป็นที่แพร่หลายของคนทั่วโลก โดยเฉพาะยุโรป สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น จนมียอดขายทะลุ 4 ล้านคันไปแล้ว

สำหรับประเทศไทย ก็มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายค่าย ที่ได้นำรถ EV มาตีตลาดไทย ซึ่งคุณอาจตั้งคำถามอยู่ในใจ
รถ EV ต้องชาร์จบ่อยไหม และค่าชาร์จไฟแพงไหม ?

รถ EV ควรชาร์จไฟจนเต็มประจุ 1 ครั้งทุกสัปดาห์ เพื่อเป็นการกระตุ้นเซลล์เก็บประจุให้ทำงาน ช่วยลดการเสื่อมของแบทเตอรี ในการใช้งานระยะยาว ในส่วนของค่าไฟในการชาร์จก็ถูกแสนถูกเมื่อเทียบกับการเติมน้ำมัน คือ ค่าชาร์จไฟรถ EV ประมาณ 0.7-1 บาท/กิโลเมตร เมื่อเทียบค่าเติมน้ำมันรถทั่วไปประมาณ 3 บาท/กิโลเมตร ทำให้สามารถประหยัดค่าเชื้อเพลิงรถไปได้มากกว่า 3 เท่าสำหรับการชาร์จไฟเองที่บ้าน แต่ถ้าไปชาร์จที่ Charging Station ในห้างหรือตามปั๊ม ก็อาจมีการบวกค่าบริการเพิ่มเติมแล้วแต่สถานที่

รถ EV ชาร์จที่บ้านปลอดภัยไหม ?

สายชาร์จที่แถมกับรถ เป็นแค่ Emergency Charge ! (สาย Mode 2) เหมาะสำหรับการชาร์จ “เพียงชั่วคราวสั้นๆ ในยามฉุกเฉิน” ที่แบทเตอรีรถ EV หมดนอกบ้าน แล้วต้องการเสียบชาร์จให้มีไฟฟ้าพอขับกลับบ้าน หรือสถานีชาร์จเท่านั้น ไม่ได้ออกแบบสำหรับเสียบชาร์จกับปลั๊กไฟบ้านทิ้งไว้ทั้งคืนเป็นประจำ เนื่องจากอาจเกิดความร้อนสะสมที่เต้าเสียบไฟบ้าน ซึ่งอาจทำให้ระบบไฟบ้านเกิดปัญหาได้ เมื่อชาร์จเต็มแล้วควรถอดปลั๊กทันที

สาเหตุมาจากสายไฟบ้านทั่วไปในไทย ทนกระแสไฟได้ 10 A หรือน้อยกว่าแล้วแต่สภาพใช้งาน แต่สายชาร์จแถม (Mode 2) สามารถดึงกระแสไฟสูงสุดถึง 12A ซึ่งเกินจากสายไฟบ้านรับได้ ! หากต้องการใช้อย่างปลอดภัย ต้องเดินสายไฟใหม่ขนาด 4 Sq.mm. ขึ้นไป สำหรับเฉพาะเต้าเสียบนี้เท่านั้น โดยไม่พ่วงกับอุปกรณ์ไฟฟ้าอื่นๆ และต้องมีระบบสายดินด้วย
การไฟฟ้านครหลวง แนะนำว่าการชาร์จที่บ้านควรใช้เครื่อง Wallbox EV Charger (เครื่อง Mode 3) เพื่อความปลอดภัย ซึ่งรับกระแสไฟได้ 16-32 A สามารถชาร์จได้เต็มประสิทธิภาพของรถยนต์แต่ละรุ่น และมีระบบตัดไฟเมื่อชาร์จเต็ม หรือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น กระแสไฟเกิน ความร้อนเกิน (มี Over-Current and Thermal Protection)

หัวชาจ์รไฟฟ้า จะมี 3 รูปแบบใหญ่ๆคือ

1.การชาร์จฯแบบเร็ว QUICK CHARGERการชาร์จแบบเร็วด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

(Charging) สามารถชาร์จแบตเตอรี่รถยนต์พลังงานไฟฟ้า จาก 0% – 80% ได้ในเวลาประมาณ 40-60 นาที (ขึ้นอยู่กับความจุพลังงานแบตเตอรี่ กิโลวัตต์-ชั่วโมง) เหมาะกับผู้ที่ต้องการความรวดเร็วในการชาร์จ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาเร่งด่วน ซึ่งประเภทหัวชาร์จของ Quick Charger ได้แก่ CHAdeMo, GB/T และ CCS

  • หัวชาร์จแบบ CHAdeMO เป็นคำย่อจากคำว่า CHArge de Move แปลได้ว่า ชาร์จไฟแล้วขับต่อไป เป็นชื่อระบบชาร์จไฟฟ้าแบบเร็วสำหรับรถยนต์พลังงานไฟฟ้า ซึ่งระบบ CHAdeMO มีการใช้แพร่หลายในประเทศญี่ปุ่น
  • หัวชาร์จแบบ GB/T โดยประเทศจีนเป็นผู้พัฒนาขึ้นเพื่อใช้ภายในประเทศ ตอบรับการใช้รถยนต์พลังงานไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่ารวดเร็วในประเทศ
  • หัวชาร์จแบบ CCS ย่อมาจาก Combined Charging System ซึ่งสามารถแบ่งย่อยได้เป็น 2 ประเภท คือ

CCS TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา ลักษณะของหัวชาร์จมีขนาดเล็กกว่า CCS Type 2 และรองรับแรงดันไฟฟ้าที่ 200 V – 500 V

CCS Type 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป หัวชาร์จประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่กว่า และมีกำลังไฟมากกว่าหัวชาร์จ CCS Type 1 ด้วย

2.การชาร์จฯ แบบธรรมดา แบบ DOUBLE SPEED CHARGE (เครื่องชาร์จ WALL BOX)

การชาร์จแบบธรรมดาด้วยไฟฟ้ากระแสสลับ (AC Charging) เช่นตู้ชาร์จติดผนังติดตั้งที่บ้านหรือตามห้างสรรพสินค้า ระยะเวลาการชาร์จจะลดลง อยู่ที่ประมาณ 4-7 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับกำลังไฟของเครื่องชาร์จ Wall box, ขนาดของแบตเตอรี่ และสเปคของรถ
การชาร์จด้วยตู้ชาร์จติดผนังสามารถชาร์จได้รวดเร็วกว่าการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง โดยหัวชาร์จที่ใช้จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ

  • TYPE 1 เป็นหัวชาร์จที่ใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศญี่ปุ่น
  • TYPE 2 เป็นหัวชาร์จที่นิยมใช้กับรถยนต์พลังงานไฟฟ้าในแถบทวีปยุโรป

ทั้งนี้การติดตั้งตู้ชาร์จติดผนัง มิเตอร์ไฟของบ้านที่ติดตั้งต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 30 (100)A

3.การชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า

แบบธรรมดา แบบ NORMAL CHARGE
การชาร์จไฟจากการต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง มิเตอร์ไฟของบ้านต้องสามารถรองรับกระแสไฟฟ้าขั้นต่ำ 15(45)A และเต้ารับไฟในบ้านต้องได้รับการติดตั้งใหม่ เป็นเต้ารับเฉพาะการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าไม่สามารถใช้เต้ารับแบบธรรมดาได้ ทั้งนี้การติดตั้งต้องได้รับมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญด้านไฟฟ้าเพื่อความปลอดภัยในการใช้งานในระยะยาว

การชาร์จในลักษณะนี้มักจะเป็นการชาร์จแบบไฟฟ้ากระแสสลับ จึงใช้ระยะเวลาในการชาร์จประมาณ 12-15 ชั่วโมง หัวชาร์จที่ใช้มีดังนี้

หัวชาร์จรถไฟฟ้าที่นิยมใช้ทวีปอเมริกาเหนือและประเทศญี่ปุ่น เป็นหัวชาร์จพลังงานไฟฟ้าแบบกระแสสลับใช้กับแรงดันไฟฟ้าที่ 120 V หรือ 240 V

หัวชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าที่นิยมใช้ในแถบทวีปยุโรป เป็นหัวชาร์จแบบพลังงานไฟฟ้ากระแสสลับ รองรับแรงดันไฟฟ้าอยู่ที่ 120 V หรือ 240 V

ในอนาคตการชาร์จรถยนต์พลังงานไฟฟ้า จะสะดวกสบายมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและผู้ที่สนใจการใช้งานยานพาหนะไฟฟ้าที่มากขึ้น ทั้งนี้ผู้ประกอบการ หลากลายได้เล็งเห็นความสำคัญ และได้ผลิตสถานีบริการพลังงานไฟฟ้าตามจุดต่างๆมากมาย เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการได้อย่างอิสระ

Credit https://www.pmk.co.th